Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

3 posters

    สุขภาพ ไม่มีปัญหา

    Admin
    Admin
    .....
    .....


    Posts : 985
    Joined : 02/02/2009
    Location : somewhere in cyber space
    Karma : 1000001

    สุขภาพ ไม่มีปัญหา Empty สุขภาพ ไม่มีปัญหา

    ตั้งหัวข้อ  Admin Fri Nov 20, 2009 9:58 am

    TIPS for Long Life

    1. ร่างกายประกอบไปด้วยน้ำถึง 60 % ( คิดจากน้ำหนัก ) และจะสูญเสียน้ำวันละประมาณ 2 ลิตร จากเหงื่อ , ปัสสาวะ และการหายใจ ….นี่แค่อยู่เฉยๆ นะ ถ้าต้องออกกำลังด้วย ก็ต้องคิดเพิ่มต่างหาก ดังนั้นควรดื่มน้ำเข้าไปทดแทนอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และถ้าเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายก็ควร( ต้อง ) ดื่มเพิ่มขึ้นอีกชั่วโมงละ 1 ลิตร ( 4 แก้ว )

    2. ถ้ารู้สึกปวดหัว หรือเวียนหัว ลองดื่มน้ำเข้าไปสักแก้วสองแก้วก่อนจะไปหายาแก้ปวด เพราะเนื้อสมองนั้นประกอบด้วยน้ำถึง 85 % ดังนั้นร่างกายขาดน้ำไปแค่หน่อยเดียว อาการปวดหัวก็จะถามหาเอาง่ายๆั

    3. แม้จะรู้ ๆ กันว่าต้องดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว แต่ก็มีแค่ 1 ใน 10 คนเท่านั้นที่จะทำได้ ลองหมั่นสังเกตปัสสาวะที่มีสีเข้มๆ หรือลองดึงหลังมือดู ถ้าเนื้อเด้งกลับอย่างช้าๆ ก็แปลว่าร่างกายขาดน้ำแล้วล่ะ

    4. เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมทุกชนิด เพราะฟองก๊าซที่ผสมอยู่นั้นมีสภาพเป็นกรด ซึ่งนอกจากจะไม่ดีต่อกระเพาะแล้ว ยังทำให้เรอออกมาด้วย

    5. น้ำแร่สำหรับดื่ม แต่ละยี่ห้อนั้นจะมีส่วนผสมของแร่ธาตุต่างๆ ไม่เท่ากัน แต่ถ้าชอบจริงๆ ก็พยายามเลือกยี่ห้อที่มีโซเดียมผสมอยู่น้อยที่สุด

    6. เลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเยอะๆ เช่น นม มะเขือเทศ แตงกวา ฟัก ฯลฯ

    7. เลี่ยงการอาบน้ำอุ่น ( จัด ) ในตอนเช้าำ เพราะการอาบ หรือแช่น้ำที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ( ขึ้นไป ) นานกว่า 5 นาที จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ … เก็บน้ำอุ่นไว้อาบตอนเย็นหลังเลิกงาน หรือก่อนเข้านอนจะดีกว่ากันเยอะ

    8. งดดื่มน้ำก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ไตขับน้ำลงไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะทั้งหมดเสียก่อน จะได้เข้าห้องน้ำทีเดียวก่อนเข้านอน ไม่ต้องลุกขึ้นมากลางดึกให้เสียอารมณ์

    9. เดินวันละ 30 นาทีเป็นประจำ จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    10. แปรงฟันแบบแห้ง ๆ ด้วยแปรงนุ่มๆ จากนั้นก็บ้วนน้ำทิ้งเสียรอบนึง ตามด้วยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันตามปกติ จะทำให้ฟันสะอาดขึ้นอีก 60 % แถมลดอาการเลือดออกตามไรฟันได้อีก 50 %

    11. ทดสอบประสิทธิภาพของปอดได้ง่ายๆ ด้วยการถือเทียนที่จุดไฟติดแล้วไว้ห่างจากปาก 15 ซม. อ้าปากหายใจเข้าให้เต็มที่แล้วเป่าลม " ฮ่อ " ออกมาจากปากโดยไม่ห่อปาก ถ้าเปลวไฟดับได้ ก็แปลว่าปอดคุณยังแจ๋วอยู่

    12. ทดสอบการได้ยินของหู ด้วยการเข้าไปอยู่ในห้องเงียบๆ ยื่นแขนออกไปด้านข้างให้สุด แล้วใช้นิ้วโป้ง กับนิ้วชี้ถูกันไปมา หดแขนเข้ามาหาตัวช้าๆ เมื่อหูสามารถได้ยินเสียงถูนิ้ว ก็ให้วัดระยะจากหูถึงนิ้วไว้ แล้วทดสอบกับหูอีกข้าง ผู้ที่มีความปกติจะได้ยินเสียงถูนิ้วในระยะห่าง 15-20 ซ.ม.

    13. งีบกลางวันสัก 20 นาที ทุกๆ วัน จะช่วยคลายเครียด และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น แต่อย่างีบนานกว่านั้น เพราะจะทำให้ง่วงตลอดบ่ายแทน และเวลาเหมาะสมคือ ถ้าคุณตื่นนอนตอนเช้าเวลา 6 โมง ก็ควรงีบตอนบ่ายสอง

    14. การออกกำลังกาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ เพราะอาหาร และออกซิเจนสามารถไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น แถมยังทำให้อารมณ์แจ่มใสด้วย

    15. ผู้สูงอายุทั้งหลายอย่าอยู่โดดเดี่ยว การวิจัยจากทั่วโลกยืนยันตรงกันว่าการเข้าสังคม หรือมีเพื่อนฝูงตลอดเวลาสามารถยืดอายุคนไปได้อีกไม่ต่ำกว่า 5 ปีเชียวนะ

    16. ชีวิตสมรสที่ไม่ราบรื่น จะเพิ่มอัตราการเจ็บป่วย ( ด้วยโรคภัย ) ขึ้นมากถึง 35 % และทำให้อายุสั้นลงอีกถึง 4 ปี นี่เป็นตัวเลขโดยเฉลี่ยนะจ๊ะ เพราะถ้ารวมตัวเลขโหดๆ ประเภทอัตราบาดเจ็บจากการทำร้ายร่างกายกันและกันเข้าไปด้วย เดี๋ยวจะอยู่เป็นโสดกันทั้งเมือง

    17. เพศชายเป็นนักสร้างสรรค์ ดังนั้นถ้าอยากมีสุขภาพจิตดี ต้องหมั่นตั้งเป้าหมาย หรือสร้างฝันอยู่ตลอดเวลา แล้วก็พยายามสร้าง หรือไขว่คว้ามาให้ได้ด้วย แต่ก็อย่าจริงจังจนกลายเป็นโรคเครียดแทนล่ะ

    18. การนอนหลับวันละ 7-9 ชั่วโมง เป็นสิ่งสำคัญตลอดชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้นอนหลับอย่างมประสิทธิภาพ ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ( กาแฟ ) และนิโคติน ( บุหรี่ ) ตลอดช่วงบ่ายยาวจนถึงเข้านอน เข้านอนให้เป็นเวลาทุกคืน อย่าดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ หรือทานของกินบนที่นอน เพราะที่นอนนั้นเอาไว้นอนหลับ กับทำอะไรนอนๆ เท่านั้น และถ้านอนไม่หลับภายในครึ่งชั่วโมง ก็จงลุกออกไปหาอะไรที่ผ่อนคลายทำไปก่อน ( เช่น อ่านหนังสือ ) จนกว่าจะรู้สึกง่วง ค่อยกลับขึ้นเตียงอีกครั้ง

    19. อาการนอนกรนเกิดขึ้นเฉพาะเวลานอนหงายเท่านั้น ดังนั้นการแก้ไขง่ายๆ คือหาวิธีไม่ให้นอนหงาย ด้วยการสวมเสื้อยืดที่มีกระเป๋าเสื้ออยู่ด้านหลังหลัง แล้วเอาลูกกอล์ฟใส่ไว้ในกระเป๋านั้น ให้เป็นเครื่องปลุกเวลาพลิกตัวนอนหงาย ก่อนที่จะโดนคนข้างๆ ตัวปลุกแบบไม่สุนทรี

    20. หยุดอาการสะอึกได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ก้อนน้ำแข็งโป๊ะบริเวณลูกกระเดือก เพราะความเย็นจะไปชะลอสัญญาณกระตุ้นจากสมอง ที่จะไปยังกระบังลมให้ช้าลง

    21. อาการปวดหลังเมื่อขับรถนานๆ เกิดจากการนั่งหลังโก่ง แก้ไขง่ายๆ ด้วยการปรับกระจกมองหลังให้เงยขึ้น ซึ่งจะช่วยบังคับให้ต้องนั่งตัวตรงโดยธรรมชาติ

    22. ลดความเครียดด้วยการทานกล้วยหอมวันละใบ เพราะสารโปรแตสเซียมในกล้วย ช่วยลดความดันโลหิตได้

    23. น้ำส้มคั้นสามารถแก้อาการเมาค้างได้เป็นอย่างดี เพราะปริมาณฟรุคโตสมากๆ จะเร่งให้ร่างกายเผาผลาญแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นอีก 25 %

    24. มีมะเร็งร้ายที่ถ่ายทอดโดยพันธุ์กรรมเพียง 10 % เท่านั้น ที่เหลือเป็นผลจากสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดี การทานผักผลไม้ให้มากๆ ในแต่ละวัน จะลดอัตราการเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในทางเดินอาหารได้มากถึง 70 %

    25. สารเมลาโทนินที่มีมากในผลเชอรี่ ช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น

    26. จากการวิจัยพบว่า แค่ทานซอสมะเขือเทศบ่อยๆ เป็นประจำ ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในอัณฑะได้ถึง 34 % และจะได้ผลมากขึ้นถ้าทานมะเขือเทศสดๆ เป็นประจำ แต่ถ้าไม่ชอบรสชาดก็ให้หันไปทานแตงโมแทน ก็จะได้ผลเหมือนกัน

    27. ทานปลาแซลมอนแค่สัปดาห์ละมื้อ เป็นประจำ ก็ลดอัตราการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ถึง 50 % เพราะปลาแซลมอนมีกรดไขมันที่เรียกว่า โอเมก้าทรี ( Omega-3 ) อย่างมาก กว่าปลาชนิดอื่น ซึ่งนอกจากมีประโยชน์ต่อหัวใจแล้ว ยังช่วยลดอาการไขข้ออักเสบต่างๆ ได้อีกด้วย แต่รายงานไม่ได้บอกว่ากิน " ปลาทู " แทนจะได้หรือป่าว ?

    28. ผลไม้เปลือกแข็ง เช่น เกาลัด มันฮ่อ ฯลฯ มีวิตามิน E อยู่เยอะ ซึ่งช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี และจากการวิจัยยังพบว่าผู้ที่ทานผลไม้เปลือกแข็งเหล่านี้ ยังมีอัตราการเป็นโรคหัวใจต่ำมาก

    29. กระเทียมมีสารต้านไวรัสอยู่เยอะแยะ และยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกายได้อย่างดี จึงเป็นอาหารต้านหวัดหมายเลขหนึ่ง ที่ยังไม่มีใครแย่งตำแหน่งไปได้

    30. แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ด้วยการทานสัปปะรด กับมะละกอเยอะๆ เพราะเอนไซม์ที่มีมากในผลไม้ทั้งสองอย่างนี้ ช่วยทำให้เนื้อเยื่อดูดซับเลือดที่จับตั วแข็งเป็นก้อนๆ ทั้งหลายได้ดี

    31. ลดน้ำหนักง่ายๆ โดยไม่ต้องอดอาหาร ด้วยการเหลืออาหารไว้ 1 ใน 5 ของปริมาณที่คุณทานตามปกติ รอสัก 20 นาทีก็จะรู้สึกอิ่มได้เองเหมือนๆ กับการโซ้ยจนหมดจาน ทั้งนี้เพราะกว่าร่างกายจะย่อยอาหาร และซึมซับสารต่างๆ เข้าสู่กระแสเลือดนั้น ต้องใช้เวลาพอสมควร ก็ราวๆ 20 นาที ที่ให้รอนั่นแหละ


    หมายเหตุ คัดลอกมาจากนิตยาสาร MBT ประจำเดือน ตุลาคม 2546 ฉบับที่ 63

    ปล. ผมไม่ใช่ หมอ และ ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
    Admin
    Admin
    .....
    .....


    Posts : 985
    Joined : 02/02/2009
    Location : somewhere in cyber space
    Karma : 1000001

    สุขภาพ ไม่มีปัญหา Empty Re: สุขภาพ ไม่มีปัญหา

    ตั้งหัวข้อ  Admin Tue Nov 24, 2009 8:40 am

    ตัววัดต่าง ๆ ของผลการตรวจเลือด

    A/G RATIO (Albumin/Globulin Ratio) เป็นอัตราส่วนของโปรตีน 2 ชนิด คือ Albumin ต่อ Globulin
    • ค่าที่ต่ำพบได้ในโรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ไต และการติดเชื้อ
    • ถ้าสูงเกินไปไม่มีความสำคัญมากนัก
    Range: 0.8 - 2.0

    ALBUMIN เป็นรูปแบบของโปรตีนส่วนใหญ่ที่พบในเลือด ถูกสร้างโดยตับจากกรดอมิโนที่ได้รับจากอาหาร
    • ค่าที่ต่ำแสดงถึง ภาวะขาดอาหาร ท้องเสีย ไข้ ติดเชื้อ โรคตับ ขาดสารอาหารประเภทเหล็ก
    Range: 3.2 - 5.0 g/dl

    ALKALINE PHOSPHATASE เป็นสารเอ็นไซม์ที่สร้างจากตับและกระดูก
    • ค่าสูงขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะโรคของตับ หรือ กระดูก สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมะเร็งได้
    • ค่าที่ต่ำกว่าปกติเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะขาดโปรตีน ขาดอาหาร ขาดวิตามิน
    Range: 20 - 125 U/L

    BILIRUBIN ถูกผลิตภายในร่างกายจากการสลายฮีโมโกลบินและเม็ดเลือดแดงเนื่องจากหมดอายุ หรือเม็ดเลือดแดงแตกสลาย ตับจะขับสารนี้ออกจากเลือดไปทางน้ำดี Bilirubin เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีให้ทราบถึงภาวะการทำงานของตับ
    • การเพิ่มขึ้นของ Bilirubin เป็นเพราะ ตับอักเสบ ภาวะตับล้มเหลว ท่อน้ำดีอุดตัน ภาวะเลือดถูกทำลายมากเกินไป
    Range: 0 - 1.3 mg/dl

    BLOOD UREA NITROGEN (BUN) เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีน ถูกขับถ่ายโดยไต
    • ค่าที่สูงบ่งชี้ว่า ไตทำงานไม่ดี ทานอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป ยาบางชนิด ดื่มน้ำน้อยไป เลือดออกในลำไส้เล็ก
    • ค่าที่ต่ำบ่งชี้ว่าขาดอาหาร การดูดซึมอาหารไม่ดี ตับเสีย
    Range: 7 - 25 mg/dl

    CO2 (Carbon Dioxide) ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์มีความสัมพันธ์กับการฟอกเลือดเพื่อแลกเปลี่ยนอากาศที่ปอด
    • ค่านี้ใช้ประกอบกับการตรวจสารประเภทเกลือแร่ต่างๆภายในร่างกายเพื่อเป็นประโยชน์ในการบ่งชี้ภาวะความเป็นกรด-ด่างภายในร่างกาย
    Range: 22 - 32 mEq/L

    CALCIUM เป็นเกลือแร่ที่มีมากที่สุดภายในร่างกาย ระดับภายในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงแคบๆ มีความสำคัญมากกับการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ การแข็งตัวของเลือด และอื่นๆ
    • ค่าที่สูงบ่งชี้ถึง ภาวะการทำงานมากเกินของฮอร์โมนพาราธัยรอยด์ โรคกระดูก ทานอาหารที่มีแคลเช๊ยมมากเกินไป ยาบางชนิด
    • ภาวะที่แคลเซี่ยมต่ำอาจทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ มีสาเหตุจาก การทำงานน้อยกว่าปกติของต่อมพาราธัยรอยด์ โรคไต ภาวะพร่องวิตามิน D
    Range: 8.5 - 10.3 mEq/dl

    CHOLESTEROL เป็นสารประเภทไขมันที่สำคัญมากในร่างกาย เป็นวัตถุดิบของสารจำเป็นมากมาย ถูกสังเคราะห์ภายในร่างกายโดยตับ และได้รับจากอาหาร เมื่ออยู่ในเลือดจะจับรวมกับโปรตีนเรียกว่า Lipoprotein ซึ่งมี 2 รูปแบบที่สำคัญคือ LDL, HDL ดังนั้นค่า Cholesterol ที่ตรวจวัดได้จึงเป็นค่าที่รวมกันของ LDL, HDL
    • ค่าที่สูง จะเพิ่มความเสียงต่อการเป็นโรคหัวใจ โดยเกิดการหนา แข็งตัวของเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ
    • ค่าที่ต่ำ พบได้ในภาวะขาดอาหาร ตับทำงานไม่ดี โลหิตจาง
    Range: 120 - 240 mg/dl

    CHLORIDE เป็นเกลือแร่ที่สำคัญตัวหนึ่งที่สำคัญในการดำรงอยู่ของเซลล์
    • ค่าสูง สัมพันธ์กับภาวะความเป็นกรดของเลือด
    • ค่าต่ำ ร่วมกับค่า Albumin ที่ต่ำลง หมายถึงภาวะบวมน้ำ
    Range: 95 - 112 mEq/L

    CREATININE เป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ และเป็นค่าบ่งชี้ภาวะการทำงานของไต
    • ค่าสูง โดยเฉพาะถ้า BUN สูงด้วย หมายถึง โรคไต
    • ค่าต่ำ พบได้ใน โรคไต โรคตับ
    Range: 0.7 - 1.4 mg/dl

    FERRITIN คือโปรตีนที่มีส่วนประกอบของแร่เหล็กด้วย พบในเซลล์ และในเลือด เป็นค่าบ่งชี้สถานะของแร่เหล็กภายในร่างกาย
    • ค่าสูง พบได้ในสภาวะหลายๆอย่างได้แก่ การอักเสบทั้งชนิดที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ โรคตับ Hemochromatosis
    GGT (Gamma-Glutamyl Transpeptidase) เกี่ยวข้องในชบวนการขนส่งกรดอมิโนเข้าสู่เซลล์ พบได้มากในตับ ดังนั้นจึงใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ดีถึงการดื่มแอลกอฮอล์
    • ค่าสูงพบได้ในผู้ติดเหล้า โรคตับ ท่อน้ำดีอุดตัน
    Range: 0 - 65 U/L

    GLOBULIN เป็นชื่อของกลุ่มโปรตีนกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจาก Albumin ค่านี้ได้จากการนำค่า Total Protein ลบด้วยค่า Albumin
    • ค่าสูง พบในภาวะอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง โรคตับ โรคข้ออักเสบ Rheumatoid arthritis และ Lupus
    • ค่าต่ำพบได้ในภาวะโรคไตบางชนิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง อื่นๆ
    Range: 2.2 - 4.2 g/dl

    GLUCOSE เป็นผลผลิตจากการย่อยคาร์โบไฮเดรต และไกลโคเจนที่ตับ เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย
    • ค่าสูง พบในโรคเบาหวาน โรคตับ ตับอ่อนอักเสบ
    • ค่าต่ำ พบในโรคตับ ภาวะอินซูลินมากเกินไป ธัยรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ
    Range: 60 - 115 mg/dl

    HDL (High-Density Lipoprotein)
    • ค่าสูงเป็นสัญญาณที่แสดงถึงภาวะการเผาผลาญอาหารที่ดี เนื่องจาก HDL ช่วยหยุดยั้งการดูดจับ LDL ของเซลล์ และเป็นตัวพาหะนำคลอเรสเตอรอลจากอวัยวะส่วนต่างๆนำกลับไปสู่ตับซึ่งจะถูก กำจัดออกไป
    Range: 35 - 135 mg/dl

    HEMATOCRIT (HCT) วัดความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในเลือด ปกติเท่ากับ 45 % โดยทั่วไปผู้หญิงจะต่ำกว่าผู้ชาย
    • ค่าสูง คือ ภาวะขาดน้ำ
    • ค่าต่ำ คือ โลหิตจาง
    Range: 37 - 54 %

    HEMOGLOBIN (HGB) เป็นสารสีแดงที่สำคัญในเม็ดเลือดแดง กล่าวคือทำหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เซลล์ นำคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปขับออกที่ปอด พบในเม็ดเลือดแดงมากถึง 1 ใน 3 ของเม็ดเลือดแดง
    • ค่าต่ำ หมายถึง ขาดอาหาร เสียเลือดมาก
    Range: 14 - 18 %

    IRON เหล็กมีความจำเป็นในการสร้าง โปรตีน ฮีโมโกลบิน Cytochrome & Myoglobin
    • ค่าสูง พบใน ตับเสื่อมเสียหาย , Pernicious anemia, Hemolytic anemia, Hemochromitosis
    • ค่าต่ำ พบในโลหิตจาง ขาดแร่ธาตุทองแดง ทานวิตามินซีน้อย โรคตับ การติดเชื้อเรื้อรัง ทานแคลเซียมมากไป หญิงมีรอบเดือนมาก
    Range: 30 - 170 mcg/dl

    LAH (Lactic Acid Dehydrogenase) เป็นเอ็นไซม์พบที่ไต หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง ตับ ปอด
    • ค่าสูง พบใน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อปอดตาย
    Range: 0 - 250 u/L

    LDH (Lactate Dehydrogenase) เป็นเอ็นไซม์ในเซลล์ส่วนใหญ่ทั่วร่างกาย ดังนั้นถ้าเซลล์ตาย LDH จะถูกปลดปล่อยออกมา
    • ค่าสูงเพิ่มเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ค่าอื่นที่เกี่ยวข้องไม่เกี่ยวข้อง ไม่ถือว่าผิดปกติอะไร
    LDL ตรงข้ามกับ HDL ยิ่งมากยิ่งไม่ดี
    • ค่าสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดแข็ง
    Range: 62 - 130 mg/dl

    LYMPHOCYTES เป็นเม็ดเลือดขาวที่ต่อต้านกับเชื้อโรคโดยเฉพาะไวรัส เช่น หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส
    • ค่าสูง จึงมักหมายถึงการติดเชื้อไวรัส
    • ค่าต่ำ หมายถึง ภาวะภูมิคุ้มกันไม่ดี ขณะเดียวกัน ถ้า Neutrophil สูงขึ้นหมายถึงภาวะมีการติดเชื้อ
    Range: 18 - 48 %

    MCHC (Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration) ตรวจวัดค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการประเมินผลการรักษาโรคโลหิตจาง
    • ค่าสูง พบได้ใน Spherocytosis
    • ค่าต่ำ พบได้ใน ภาวะขาดเหล็ก, สูญเสียเลือด, ธาลัสซีเมีย
    Range: 32 - 36 %

    MONOCYTES เป็นเซลล์ที่มีประโยชน์ในการต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์ในการติดเชื้อ เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบการไหลเวียนโลหิต
    • ค่าสูง หมายถึง การอักเสบเรื้อรัง, มะเร็ง, ลิวคีเมีย
    • ค่าต่ำ แสดงถึงภาวะสุขภาพไม่ดี
    Range: 0 - 9 %

    PHOSPHORUS เป็นแร่ธาตุที่มีมากในร่างกาย ( แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุด ) อาหารที่รับประทานมีผลต่อ Phosphorus ในเลือดมาก ตัวนี้จะต้องดูควบคู่ไปกับระดับแคลเซียมในเลือด เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายของแคลเซียม และ รักษาความเป็นกรดด่างภายในร่างกาย
    Range : 2.5 - 4.5 mEq/dl

    POTASSIUM เป็นแร่ธาตุ พบมากภายในตัวเซลล์มากกว่าในเลือดถึง 25 เท่า มีความสำคัญมากในการทำงานของเซลล์ การทำงานของกล้ามเนื้อ และหัวใจ ถือเป็นตัวที่มีความสำคัญมาก
    • ค่าต่ำ พบได้ในกรณี อาเจียนอย่างรุนแรง ท้องร่วง โรคไต ได้รับยาขับปัสสาวะบางตัว
    Range: 3.5 - 5.5 mEq/L

    PLATELETS เป็นชิ้นส่วนของเม็ดเลือดแดง มีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงมาก ในเลือด 1 หยด จะมีเม็ดเลือดแดง 5,000,000 เซลล์ มีเกล็ดเลือดประมาณ 140,000 - 450,000 มีความสำคัญในการแข็งตัวของเลือดเมื่อมีแผลเพื่อป้องกันการเสียเลือดมากเกิน ไป
    • ค่าสูง ได้แก่ โรคของไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด
    • ค่าต่ำ อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน และอีกหลายๆโรค
    Range : 130 - 400 thous

    PROTEIN โปรตีนมีความสำคัญมาก เป็นเอ็นไซม์ต่างๆ ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกัน ปรับรักษาระดับความเป็นกรด ด่างในร่างกาย เป็นอาหาร แหล่งพลังงาน มีโปรตีนที่สำคัญหลายชนิด ที่น่าสนใจได้แก่ Albumin และ Globulin
    • ค่าสูง พบได้ใน Lupus, โรคตับ, การอักเสบเรื้อรัง, ลิวคีเมีย, อื่นๆ
    • ค่าต่ำ พบใน ขาดอาหาร, โรคตับ , การดูดซึมอาหารไม่ดี
    Range : 6.0 - 8.5 g/dl

    RED BLOOD CELL COUNT (RBC) เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่นำพาออกซิเจนไปตามเลือดไปให้เซลล์ต่างๆและขนคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปทิ้งที่ปอด
    ในเลือดหยดหนึ่ง มีเม็ดเลือดแดงมากถึงประมาณ 5 ล้านเซลล์ ถูกผลิตจากไขกระดูก
    Range : 4.2 - 5.6 mill/mcl

    RETICULOCYTE COUNT คือเม็ดเลือดแดงที่ยังอ่อนอยู่ ซึ่งไม่ควรมีมากนักในเลือด
    SODIUM เป็นแร่ธาตุ เป็น 1 ใน 4 ของแร่ธาตุที่พบมากในร่างกาย มีความสำคัญต่อความสมดุลย์ของเกลือและน้ำ การนำกระแสประสาท
    • ค่าสูง พบใน สูญเสียน้ำมากเกินไป
    • ค่าต่ำ พบใน ท้องร่วง, โรคไต
    Range: 135 - 146 mEq/L

    TRANSAMINASE SGOT (AST) Serum Glutamic Oxalocetic Transaminase คือเอ็นไซม์ที่พบได้ใน หัวใจ, ตับ, กล้ามเนื้อ
    • ค่าสูง พบใน ภายหลังภาวะ Heart Attack , โรคตับ, โรคการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
    Range: 0 - 42 U/L

    TRANSAMINASE SGPT (ALT) Serum Glutamic Pyruvic Transaminase เป็นเอ็นไซม์ที่พบได้ใน ตับเป็นหลัก ในกล้ามเนื้อพบได้บ้าง ดังนั้นค่านี้จึงจำเพาะเจาะจงถึงโรคตับมากกว่า SGOT หรือ AST
    • ค่าสูง พบใน โรคตับ
    Range: 0 - 48 U/L

    TRIGLYCERIDES คือรูปแบบของไขมันที่พบได้ในธรรมชาติ และรูปแบบของไขมันที่ถูกเก็บในร่างกายซึ่งจะถูกเก็บในเซลล์ไขมัน (Adipose Tissue) มีหน้าที่หลักคือ เป็นแหล่งของพลังงาน ระดับภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงตามอาหารที่ทาน และอัตราการกำจัดออก
    • ค่าสูง พบได้ใน Artherosclerosis, Hypothyroidism, โรคตับ, ตับอ่อนอักเสบ, Myocardial Infarction, Metabolic disorders, Toxemia, Nephrotic Syndrome
    • ค่าต่ำ พบได้ใน Chronic obstructive pulmonary disease, Brain infarction, hyperthyroidism, malnutrition, malabsorption
    Range : 0 - 200 mg/dl

    URIC ACID เป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ ( metabolism ) ซึ่งจะถูกขับถ่ายโดยไต
    • ค่าสูง พบได้ใน ทานอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ , โรคเก๊าท์ , โรคไต, เบาหวาน, กำลังทานยาขับปัสสาวะบางชนิด
    • ค่าต่ำ พบใน โรคไต, Malabsorption, poor diet, liver damage
    Range : 3.5 - 7.5 mg/dl

    WHITE BLOOD CELL COUNT (WBC) เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด มีหน้าทีในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่มารุกราน
    • ค่าสูง พบใน การติดเชื้อ , การบาดเจ็ล , หลังผ่าตัด
    • ค่าต่ำ พบใน ภาวะบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน
    Range : 3.8 - 10.8 thous/mcl

    PLASMA THROMBIN TIME (THROMBIN CLOTTING TIME) ตรวจสอบสภาพของ Fibrinogen เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคตับ
    Range : 10 - 15 วินาที

    PLASMA AMMONIA ตรวจสภาพตับ วัดผลการรักษาโรคตับว่าอาการทรุด หรือ ฟื้นได้ดีเพียงใด ถ้าค่ายิ่งสูงจะหมายถึงสภาวะโคม่าของตับ

    TOTAL PROTEIN TEST
    ค่า สูง พบใน Polyclonal or monoclonal gammopathies, marked dehydration, ยาบางชนิด ได้แก่ Anabolic steroids, Androgens, Corticosteroids, Epinephrine
    ค่าต่ำ พบใน Protein-losing gastroenteropathis, acute burns, nephrotic syndrome, severe dietary protein deficiency, chronic liver disease, malabsorption syndrome, agammaglobulinemia


    ปล. ผมไม่ใช่ หมอ และ ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
    Teddy Bear
    Teddy Bear
    ...
    ...


    Posts : 60
    Joined : 03/02/2009
    Karma : 0

    สุขภาพ ไม่มีปัญหา Empty Re: สุขภาพ ไม่มีปัญหา

    ตั้งหัวข้อ  Teddy Bear Thu Nov 26, 2009 2:17 pm

    ได้ความรู้ดีจัง บางตัวไม่เคยทราบมาก่อนเลยค่ะ Razz Razz Razz
    Admin
    Admin
    .....
    .....


    Posts : 985
    Joined : 02/02/2009
    Location : somewhere in cyber space
    Karma : 1000001

    สุขภาพ ไม่มีปัญหา Empty Re: สุขภาพ ไม่มีปัญหา

    ตั้งหัวข้อ  Admin Tue Dec 01, 2009 2:14 pm

    การลดความอ้วนแบบ 'The Alternate-Day Diet'

    การออกกำลัง หรือฝึกกีฬาแบบ "หนักวัน-เบาวัน" หรือฝึกหนักวันหนึ่ง-ฝึกเบา(แรงปานกลาง)เป็นวิธีฝึกที่ช่วยให้ก้าวไกลไปได้ เร็ว และลดการบาดเจ็บให้น้อยลง
    ลองมาดูการลดความอ้วนแบบ กินหนักวัน-เบาวัน ซึ่งอาจทำให้ลดความอ้วนได้เร็วขึ้น
    ...

    จากการศึกษา ใหม่พบว่า การกินอาหารแบบหนักวัน-เบาวัน หรือในที่นี้คือ กินพอดีวันหนึ่งสลับกับกินน้อยๆ หน่อยวันหนึ่งอาจช่วยลดเสี่ยงโรคภูมิแพ้ เบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม ช่วยสมองอ่อนเยาว์ และอาจทำให้อายุยืนยาวได้ด้วย

    วิธี ลดความอ้วนแบบนี้มีชื่อว่า 'The Alternate-Day Diet' = อาหารวันเว้นวัน (alternate day = วันเว้นวัน), การอดอาหารเป็นพักๆ (intermittent fasting; intermittent = เป็นพักๆ เป็นช่วงๆ; fast = อดอาหาร), หรืออาหารอายุยืน (longevity diet; longevity = อายุืยืน; diet = อาหาร ลดความอ้วน)

    ...

    เทคนิคนี้ เป็น 1 ในเทคนิคที่นักเพาะกายบางท่านใช้ คือ วันไหนฝึกหนักก็กินเต็มที่-วันไหนไม่ได้ฝึกก็อดเต็มที่ (เช่น กินแต่ผักที่ไม่ต้มกับน้ำพริก ฯลฯ)

    เนื่องจากกล้ามเนื้อของคนเรามีลักษณะคล้ายปลาวาฬที่อยู่ในทะเลน้ำมันตื้นๆ (ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง)

    ...

    ถ้าปลาวาฬตัวเล็ก (กล้ามเล็ก) หรือทะเลน้ำมันลึก (ชั้นไขมันใต้ผิวหนังหนา) จะมองไม่เห็นกล้าม,

    ตรงกันข้ามกล้ามจะโผล่ออกมา (ให้เห็น) ได้ก็เมื่อปลาวาฬตัวโต (กล้ามใหญ่) หรือทะเลน้ำมันตื้น (ชั้นไขมันใต้ผิวหนังบาง)

    ...

    หลักการของการอาหารลดความอ้วนแบบวันเว้นวัน คือ กินหนักวัน-เบาวัน โดยวันที่เบาจะกินอาหารได้ไม่เกิน 50% ของวันหนัก

    เน้น ควบคุมอาหารให้กำลังงานหรือแคลอรี กินผักที่ไม่ใช่ผักแป้งสูง เช่น ผักใบเขียวต้ม ฯลฯ ได้ไม่จำกัด แต่ต้องควบคุมผักแป้งสูง เช่น ฟักทอง ฯลฯ

    ...

    กลไกที่เป็น ไปได้ คือ การกินอาหารแบบนี้ไปกระต้นยีนส์ผอม (skinny gene; skinny = ผอม คล้ายหนังหุ้มกระดูก; gene = กลุ่มรหัสพันธุกรรมหรือ DNA ที่แสดงผลได้) ซึ่งช่วยการเผาผลาญไขมัน

    ช่วง ปี thirties (= 30s = 1930-1939; บวก 543 จะได้ปี พ.ศ.) นักวิทยาศาสตร์พบว่า สัตว์ทดลอง เช่น หนู หนอน แมลงวันผลไม้ ฯลฯ ที่กินอาหารกำลังงาน (แคลอรี) ต่ำมากๆ มีอายุยืนขึ้น 30%

    ...

    สัตว์เหล่านี้ มีหลอดเลือดอุดตัน (จากคราบไข โคเลสเตอรอล) น้อยกว่า, มีระดับสารแสดงการอักเสบน้อยกว่า, ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า, เซลล์สมองเสื่อมสภาพน้อยกว่า

    แถมโรคเรื้อรังที่พบตอนอายุมากลดลง

    ...

    ผศ.ดร.คริ สตา วาดาดีจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก US กล่าวว่า อาหารลดความอ้วนทั่วๆ ไปมักจะลดกำลังงาน หรือแคลอรีลงจนเหลือ 20-40% ของอาหารเดิมทุกวัน

    เฉลี่ย คือ ให้กิน 1/3 ของที่เคยกิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำใจได้ยากมากๆ เพราะทำให้หิวเรื้อรัง วิธีใหม่ให้ลดอาหารวันเว้นวันทำได้ง่ายกว่า

    ...

    การศึกษา ทำในคนไข้ 16 คน นาน 10 สัปดาห์ ให้กินอาหารสุขภาพวันหนึ่งสลับกับลดอาหารเหลือ 20% วันหนึ่ง พบว่า น้ำหนักลดลงในช่วง 10-30 ปอนด์ = 4.54-13.62 กิโลกรัม

    ปี 2546 อ.ดร.มาร์ค แมทท์ซันทำการทดลองในหนูพบว่า หนูที่ได้รับอาหารแบบวันเว้นวันมีสุขภาพดี และมีความพึงพอใจด้วย

    ...

    อ.นพ.เจมส์ จอห์นซัน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง 'The Alternate-Day Diet' = อาหารลดความอ้วนแบบวันเว้นวัน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่ง ท่านทดลองสูตรอาหารนี้กับตัวเองมา 5 ปีพบว่า น้ำหนักลดลง 35 ปอนด์ = 15.9 กก.ใน 11 สัปดาห์

    เรื่อง ที่น่าสนใจ คือ มีการศึกษาขนาดเล็ก (จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อย) คือ คนอ้วนที่เป็นโรคหอบหืด 10 รายมีอาการดีขึ้นมากเมื่อกินอาหารลดความอ้วนแบบวันเว้นวัน และลดน้ำหนักได้ 8%

    ...

    การศึกษา นี้ อ.ดร.จอห์นซันทำร่วมกับทีมวิจัยจากสถาบันความชราแห่งชาติ US และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด US พบว่า คนไข้โรคหอบหืดหายใจได้ดีขึ้น แถมยังมีระดับอนุมูลอิสระในเลือดลดลง 90%, สารเคมีบ่งชี้การอักเสบลดลง 70%

    ทว่า... ผลดีนี้ไม่ได้ยั่งยืนยาวนาน เนื่องจากเมื่อหยุดอาหารแบบนี้ 2 สัปดาห์, อาการหอบหืดก็กลับเป็นซ้ำอีก

    ...

    ตอนนี้นักวิจัยอังกฤษ (UK) กำลังศึกษาว่า อาหารแบบนี้ป้องกันมะเร็งเต้านมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงได้หรือไม่

    อ. ดร.ไมเคิล ฮาร์วีกล่าวว่า อาหารแคลอรีต่ำมากระดับ 800 แคลอรี/วัน ลดการทำงานของเอนไซม์ (น้ำย่อย) ที่เผาผลาญไขมันและน้ำตาลกลูโคสในเนื้อเยื่อเต้านม ซึ่งเพิ่มขึ้นในคนไข้มะเร็ง

    ...

    2-3 ปีที่ ผ่า่นมา, มีการค้นพบยีนส์ SIRT1 หรือยีนส์ผอม (skinny gene) ที่พร้อมจะทำงานเมื่อคนเราอดอาหาร หรือขาดอาหาร, ยีนส์นี้ไปยับยั้งยีนส์อ้วนที่ชอบสะสมไขมัน

    อ. ดร.แมทท์ซันและคณะรายงานว่า ยีนส์นี้น่าจะอธิบายได้ว่า ทำไมสัตว์ที่อยู่ในภาวะกึ่งขาดอาหาร (semi-starvation) ถึงได้มีการอักเสบลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

    ...

    กลไกที่การ ลดอาหารแบบวันเว้นวันน่าจะดี คือ ถ้าเราอดอาหารทุกวัน, ร่างกายจะปรับลดอัตราการเผาผลาญอาหาร (metabolism) หลังการอดอาหารผ่านไป 48-72 ชั่วโมง

    ถ้า เป็นรถจะเปรียบคล้ายรถที่เปลี่ยนจากเกียร์เดินหน้าเป็นเกียร์ว่าง หรือไม่เปลี่ยนเกียร์แต่ขับช้าลงแบบถึงก็ช่าง-ไม่ถึงก็ช่าง, ถ้าเป็นหมีคืออยู่ในภาวะจำศีล เผาผลาญน้อย ผลคือ จะทำให้ลดความอ้วนได้ยากในระยะยาว

    ...

    อ.แคเตอรีน คอลลินส์ โฆษกสมาคมโภชนาการสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ประเด็นที่สำคัญ คือ ขอให้กินโปรตีน และเส้นใย (ไฟเบอร์) ให้พอเสมอ

    ส่วน อ.ดร.ฮาร์วีกล่าวว่า ตอนนี้กำลังทำการศึกษาว่า ถ้าจะลองปรับเปลี่ยนสูตรอาหารนี้เป็นกินอาหารสุขภาพ 5 วันทำการ และอด 2 วันจะได้ผลพอๆ กันหรือไม่

    ...

    อ.ดร.จอห์นซันแนะนำว่า 'first fortnight' = ปักษ์แรก (2 สัปดาห์) วัน ที่อดอาหาร (วันเว้นวัน) นั้นอาจกินอาหารต่ำได้จนถึง 500 แคลอรี (เน้นกินผักง่ายๆ เช่น ผักสลัด แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ เป็นหลัก) ทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นกับว่า เป้าหมายคืออะไร

    ถ้า ต้องการลดน้ำหนัก... วันอดไม่ควรกินแคลอรี (กำลังงาน) เกิน 35% หรือประมาณ 1/3 ของวันไม่อด, ถ้าต้องการรักษาน้ำหนักให้คงที่ (ไม่กลับไปอ้วนใหม่ หรือน้ำหนักไม่เพิ่ม)... วันอดไม่ควรกินแคลอรี (กำลังงาน) เกิน 50-60% หรือประมาณ 1/2-2/3 ของวันไม่อด

    ...

    ข้อดี คือ วันไม่อดกินอาหารสุขภาพ (ควรงดอาหารทอด) มากหน่อยได้, อย่าลืมกินผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกาก) ให้มากพอ, ดื่มน้ำให้มากพอตลอดช่วงเวลากลางวัน (ถ้ากินน้ำมากกลางคืนอาจทำให้ต้องตื่นมาปัสสาวะ หรือฝันร้าย)

    แน่นอนว่า ควรออกแรง-ออกกำลังให้มากด้วย โดยใช้วิธีหนักวัน-เบาวันเช่นกัน (ฝึกหนักวันกินมาก-ฝึกเบาวันกินน้อย)

    ...

    ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ



    ปล. ผมไม่ใช่ หมอ และ ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
    mom007
    mom007
    ...
    ...


    Posts : 60
    Joined : 19/11/2009
    Karma : 1

    สุขภาพ ไม่มีปัญหา Empty Re: สุขภาพ ไม่มีปัญหา

    ตั้งหัวข้อ  mom007 Tue Dec 08, 2009 11:00 am

    ตอนสาว46 ตอนไม่สาว64

    เป็นปลาวาฬน้ำมันลึก แถมห่วงยาง ไม่จมน้ำอีก

    อ่านแล้วได้conceptการลดน้ำหนักที่แปลกแตกต่าง

    เคยใช้ยา เกือบเด่ดสะมอเร่

    เคยอดข้าว แต่ทนไม่ไหว

    เคยเต้นaerobicจนเอวเคล็ด กลับบ้านกินๆๆๆเพราะเหนื่อย

    เคยๆๆๆอีกหลายอย่างแต่ไม่ชนะ

    สุดท้ายช่างมัน

    จะลอง alternate day dietซึ่งไม่ทรมาน

    ขอบคุณadmin ที่ให้ของดีแก่ผปค.และเด็กๆ
    Teddy Bear
    Teddy Bear
    ...
    ...


    Posts : 60
    Joined : 03/02/2009
    Karma : 0

    สุขภาพ ไม่มีปัญหา Empty Re: สุขภาพ ไม่มีปัญหา

    ตั้งหัวข้อ  Teddy Bear Wed Dec 09, 2009 8:41 am

    เป็นหมีไม่อ้วนก็ไม่น่ารักซิ จริงไหม
    อย่าลดน้ำหนักเยอะนะคะ อายุเท่านี้ความเหี่ยวจะถามหา
    เอาแค่พอดี พอดี ก็โอเคแล้วแหละ
    น้ำหนัก 64 ก็กำลังน่ารักนะคะ (ไม่เชื่อถามคนที่บ้านดู)
    แต่อย่าให้เพิ่มมากกว่านี้ก็แล้วกัน
    Admin
    Admin
    .....
    .....


    Posts : 985
    Joined : 02/02/2009
    Location : somewhere in cyber space
    Karma : 1000001

    สุขภาพ ไม่มีปัญหา Empty Re: สุขภาพ ไม่มีปัญหา

    ตั้งหัวข้อ  Admin Wed Dec 09, 2009 12:01 pm

    อ้าว... ก็ก่อนหน้านี้ ฉันก็ กินๆๆ... นอนๆๆๆๆ... ไหง ไม่อ้วน...

    พอ40 อย่าได้เผลอเชียว....

    ข้าวขาหมู, ข้าวมันไก่, ปลาท่องโก๋, ข้าวเหนียวมะม่วง, กล้วยแขกทอด.... น่ากินทั้งนั้น...

    .
    .
    .
    .
    .
    .
    เคยคุยกับเพื่อนคนหนึ่ง วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะเราอยู่ในช่วงปรับตัว ให้สังเกตุ คนอ้วนมักจะอยู่ในช่วงวัย 35-40

    พอเลย 40 ป๊าบ... เราเริ่มรู้ตัว ก็จะปรับการใช้ชีวิต กินดี ออกกำลัง รักษาสุขภาพ....

    สังเกตุ คนอายุ เลย 45 ร่างกายจะกลับมาผอมลง+ ดูดีขึ้นตามวัย....

    ขอให้มันจริงเหอะ..... โอม.เพี้ยง...



      เวลาขณะนี้ Sat Apr 27, 2024 9:03 am