Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

5 posters

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    noo1-7
    noo1-7
    .....
    .....


    Posts : 616
    Joined : 08/02/2009
    Karma : 3

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  noo1-7 Fri Feb 11, 2011 7:03 pm

    ใกล้สอบปลายปีม.3แล้ว

    เพื่อนๆและผปค.ที่มีข้อสอบเก่าหรือแบบฝึกหัดทุกวิชา

    ช่วยกันโพสต์หรือส่งข้อสอบ

    ให้ลุงadmin,หยู,จี้,แชมป์,นาจา,อัด,อินดี้,ก็ได้ค่ะ

    การช่วยกันลงข้อสอบเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆและลูกๆ

    ผปค.ชื่นชมห้องเราที่ร่วมมือร่วมใจกัน....มีจิตอาสา....มาตลอด

    รวมพลังกันอีกครั้ง....ช่วยเพื่อนๆและพวกหนูด้วยนะคะ

    ขอบคุณอีกครั้งค่ะ Very Happy


    แก้ไขล่าสุดโดย noo1-7 เมื่อ Fri Feb 18, 2011 6:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    nuchjung
    nuchjung
    ..
    ..


    Posts : 15
    Joined : 11/07/2009
    Karma : 0

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  nuchjung Thu Feb 17, 2011 7:22 pm

    Shocked เจอเเค่นี้อ่ะ ใครเจอพระพุทธมั่ง bounce


    หน่วยที่ 1 การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล/ไทย+การนับศักราช
    การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล
    หลักเกณฑ์ในการแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์ การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งช่วงในการศึกษาได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ โดยการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัย ประวัติศาสตร์ ยึดถือเอาอายุของตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดเป็นเกณฑ์การแบ่ง สำหรับดินแดนประเทศ ไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 โดยใช้อายุของตัวอักษรบนจารึกซึ่งพบจาก เมืองโบราณที่ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหลัก โดยแต่ละสมัย นักวิชาการจะใช้หลักฐานในการ ศึกษาแตกต่างกัน ดังนี้
    1). สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจาก หลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่อง ประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนสีตามฝาผนังถ้ำ
    หินกระเทาะ

    2). สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
    2. หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้ แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุค ประกอบด้วย
    1) ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
    - ยุคหินเก่า มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้เครื่องมือหินที่ทำแบบหยาบๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้ำ
    - ยุคหินกลาง มนุษย์ดำรงชีวิตเหมือนยุคหินเก่า รู้จักทำเครื่องมือหินที่ประณีต มากขึ้น รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะผิวเรียบมัน
    - ยุคหินใหม่ มนุษย์ยุคนี้ดำรงชีวิตโดยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งถาวร ทำเครื่องมือหินขัด ทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ
    2) ยุคโลหะ ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ 4,000 ปี - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งย่อย ออกเป็นยุคทองแดง ยุคสำริด และยุคเหล็ก คือ ยึดถือเอาชนิดของโลหะที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นเกณฑ์ การแบ่ง
    - ยุคสำริด มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก รู้จัก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู ชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่ายุคหินใหม่ รู้จักทำสำริดเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ

    - ยุคเหล็ก การดำรงชีวิตเจริญและซับซ้อนกว่ายุคสำริด มีการติดต่อค้าขายกับ อารยธรรมต่างแดน ทำให้ผู้คนมีความเจริญแตกต่างกัน มีการนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีความคงทนกว่าสำริด ใช้งานได้ดีกว่า แบบที่สอง ให้ความสำคัญในเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย
    2.1) ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
    2.2) ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยง สัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
    2.3) ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
    • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาถึงร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนตามฝาผนังถ้ำ เป็นต้น
    • สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
    1.2 หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
    การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้
    แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย
    1. ยุคหิน ซึ่งจำแนกออกเป็นยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว
    2. ยุคสำริด มีอายุประมาณ 4,000 - 2500 ปีล่วงมาแล้ว
    3. ยุคเหล็ก มีอายุระหว่าง 2,500 - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว
    แบบที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน แบ่งออกได้ 3 ยุค ดังนี้
    1. ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
    2. ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
    3. ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
    ประเภทของยุค แบ่งตามเทคโนโลยีเครื่องมือที่ใช้ ช่วงระยะเวลาโดยประมาณ แบ่งตามแบบแผนการดำรงชีวิต
    หินเก่า 500,000 - 10,000 ปีมาแล้ว

    ยุคหิน หินกลาง 10,000 - 6,000 ปีมาแล้ว ชุมชนล่าสัตว์
    หินใหม่ 6,000 - 4,000 ปีมาแล้ว
    ยุคโลหะ สำริด 4,000 - 2,500 ปีมาแล้ว หมู่บ้านเกษตรกรรม
    เหล็ก 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว สังคมเมือง



    การนับศักราช
    ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้
    ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช
    (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน
    การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง
    พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี
    พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
    พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี
    พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี
    คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี
    คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี
    คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี
    มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี
    มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี
    จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี

    พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่
    โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา

    คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี
    การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี

    มหาศักราช (ม.ศ.)
    เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่งในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1
    วิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี

    จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัล-ลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดยจะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่

    รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร.ศ.)

    วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ.
    พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543
    พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621
    พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181
    พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324

    หน่วยที่ 3 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี
    หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า “ พระบรมราชาธิราชที่ 4 ” (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ครองกรุง
    ธนบุรีอยู่ 15 ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี (กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร)
    สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
    1.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดีเหมือนเดิมได้
    กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้
    2.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย
    3.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี
    ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก

    ด้านการปกครอง
    หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน 3 ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามทที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว

    ด้านเศรษฐกิจ
    ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองดำลังประสบ
    ความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยาก
    ยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะ
    เศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ

    การสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง พระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัยผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั่งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณา
    ความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากใน
    กรุงธนบุรีและมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2325 พระชนมายุได้ 45 พรรษา
    หน่วยที่ 4 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
    สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3)
    หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และได้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า กรุงเทพมหานคร พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา
    พระองค์ทรงฟื้นฟูขวัญกำลังใจให้กับประชาชนที่ยังหวาดผวากับศึกพม่าเมื่อครั้ง สงคราวเสียกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งตลอดสมัยกรุงธนบุรี ด้วยการนำแบบแผนต่างๆของ ราชสำนักอยุยามาใช้ รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นแบบอย่างชัดเจนที่พระองค์ ทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอาราม ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ เสมือนยกเอายุครุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยามาไว้ยังกรุงเทพฯ
    ในช่วงก่อร่างสร้างเมืองนี้สยามยังต้องผจญกับศึกสงครามรอบบ้านอยู่เสมอ รวมทั้งสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบระหว่างสยามกับพม่าด้วย นั่นคือศึกที่เรียกว่าสงครามเก้าทัพ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าประดุง แห่งหงสาวดี กองทัพสยามสามารถขับไล่ทัพพม่าออกไปได้ในที่สุด หลังสงครามเก้าทัพพม่าต้องเผชิญหน้ากับประเทศนักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ทำให้สยามว่างเว้นศึกสงครามใหญ่ไปนาน
    รัชกาลที่1 มีพระราชดำริให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมครั้งใหญ่ รวมทั้งการรวบรวทตำรับตำราจากหัวเมืองต่างๆ ที่รอดพ้นจากการถูกพม่าเผาเมื่อ ปี พ.ศ.2310 มาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ
    ในสมัยของพระองค์ได้มีการนำธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักอยุธยามาใช้อย่างหนึ่งคือ มีการแต่งตั้งตำแหน่งอุปราชเสมือนเป็นกษัตริย์องค์ที่2 อุปราชองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งประทับอยู่ที่วังหน้า คนสยามจึงมักเรียกตำแหน่งอุปราชว่า วังหน้า
    ด้านกฎหมาย มีการชำระกฎหมายขึ้นมาใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ได้แก่ ตราราชสีห์ คชสีห์ และตราบัวแก้ว
    รัชกาลที่ 2 ยุคทองของศิลปรัตนโกสินทร์ :พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2352-2367) พระราชโอรสองค์ โตได้ครองราชสมบัติสืบมาเป็นรัชกาลที่2 พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในศิลปวัฒนธรรมมาก ทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และวรรณคดี พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้เป็นอัครศิลปิน ทรงสร้างและบูรณะวัดวาอารามจำนานมาก ที่สำคัญที่สุดคือโปรดเกล้าฯให้บูรณะ วัดสลักใกล้พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี จนยิ่งใหญ่สวยสง่ากลายเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์และพระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร
    ความเป็นศิลปินเอกของพระองค์เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงแกะสลักบานประตู หน้าวัดสุทัศน์ฯด้วยพระองค์เอง ผลงานอันวิจิตรชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ นอกจากฝีพระหัตถ์เชิงช่างแล้ว รัชกาลที่2ยังทรงพรัอัจฉริยภาพในทางกวีด้วย พระราชนิพนธ์ชิ้นสำคัญของพระองค์ บทละครเรื่อง อิเหนา และ รามเกียรติ์
    นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นองค์อุปถัมภ์ บรรดาศิลปินและกวีด้วย ยุคนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่กวีรุ่งเรืองที่สุด กวีเอกที่ปรากฏในรัชกาลของพระองค์คือ พระศรีสุนทรโวหาร(ภู่) ที่คนไทย ทั่วๆไปเรียกว่า สุนทรภู่
    ในด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ใหม่หลังจากหยุดชะงักไปตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีพระบรมราชานุญาตให้โปรตุเกตุเข้ามาตั้งสถานฑูตได้เป็นชาติแรก

    รัชกาลที่ 3 ยุคทองแห่งการค้า : กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ครอง ครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) ทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้า ขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีน ในรัฐสมัยของพระ องค์ ราชสำนักสยามและจีนมีสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สยามแต่ง สำเภาเดินทางไปค้าขายกับจีนปีละมากลำ ยุคสมัยของพระองค์นับ เป็นยุคทองของการค้าขาย ทรงทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่งคั่งขึ้น เงินทองเต็มท้องพระคลัง และทรงเก็บพระราชทรัพย์บางส่วนไว้ใน ถุ้งแดง ซุกซ่อนไว้ตามบัลลังก์ ซึ่งในเวลาต่อมาทรัพย์ในถุงแดงนี้มีส่วน ในการกู้ชาติสยาม
    รัชกาลที่ 3 เป็นกษัตริย์ผู้ทรงเคร่งครัดในศาสนาพุทธ ชาว ตะวันตกมักมองว่าพระองค์ ตึงและต่อต้าน ศาสนาอื่น แม้กระนั้นก็ ทรงอนุญาตให้มิชชั่นนารีจากอเมริกานำการแพทย์แผนตะวันตกเข้า มาเผยแพร่ได้
    การเปิดประเทศในรัชกาลที่ 4 : ความจริงในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศสยามต้องรับบรรดาทูตต่างๆจากชาติตะวันตกที่เข้ามาทำ สัญญาทางการค้าบ้างแล้ว โดยเฉพาะการมาถึงของ เซอร์จอห์น เบาริ่ ง จากอังกฤษที่เข้ามาทำ สนธิสัญญาเบาริ่ง อันส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อง้า ประเทศสยามในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดประเทศมา ปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงสนพระทัยในศิลปวิทยาการของตะวันตกมาก พระ องค์ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างแตกฉาน ทรงเข้าใจภาษาบาลีเป็น อย่างดีตั้งแต่ครั้งที่ออกผนวชเป็นเวลาถึง 27 พรรษาก่อนทรงขึ้นครอง ราชย์ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทรงได้เรียนกับมิชชันนารีจนสามารถตรัส ได้เป็นอย่างดี นกจากนี้ยังมีความรู้ในวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆโดย เฉพาะดาราศาสตร์
    ในยุคสมัยของพระองค์ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนักได้ เปลี่ยนไปมาก เช่น การแต่งกายเข้าเฝ้าของขุนนาง ทรงให้สวมเสื้อผ้า แบบตะวันตกแทนที่จะเปลือยท่อนบนเช่นสมัยก่อน หรือยกเลิก ประเพณีหมอบคลาน เป็นต้น
    ส่วนในด้านการศาสนานั้นทรงตั้งนิกาย นิกายธรรมยุติ ขึ้นมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการรวมอำนาจของคณะสงฆ์ซึ่งเคยกระจัดกระจาย ทั่วประเทศให้เขามาอยู่ที่ส่วนกลาง พระองค์นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้มี วิสัยทัศน์ยาวไกล และทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมของ ประเทศตะวันตกซึ่งในเวลานั้นเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านของ สยามจนหมดสิ้นแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ความเข้มแข็งแบบ ตะวันออกของสยามไม่สามารถช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็น อาณานิคมได้ จึงทรงเน้นให้ประเทศสยามพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อลด ความขัดแย้งกับชาติตวันตก
    ยุคสมัยนี้กล่าวได้ว่าประเทศสยามเริ่มหันทิศทางไปสู่ตะวัน ตกแทนที่จะแข็งขืนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่อาจสู้ ความได้เปรยบทางเทคโนโลยีของชาติตะวันตกได้ ในราชสำนักทรง จ้างครูฝรั่งมาสอนภาษาให้แก่พระราชโอรสและพระราชะดา ส่วนภาย นอกมีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มาประกอบกิจการในมืองสยาม สมัยนี้มีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออกมาเป็นครั้งแรก นั่นคือ บางกอกรี คอดเดอร์ ของหมอบัดเลย
    การทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศตะวันตกทำให้ สยามต้องสูญเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อังกฤษเป็นชาติแรกๆที่ ได้ประโยชน์สยามสามารถเก็บภาษีจากสินค้าของพ่อค้าอังกฤษได้ เพียงร้อยละ 3 และอังกฤษสามารถนำเข้าฝิ่นจากอินเดียได้โดยเสรี รวมทั้งสัญญาระบุให้สยามยกเบิกการผูกขาดการค้าข้าวโดยราช สำนัก ทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสยามมานับศตวรรษ ต่อมาสยามก็ต้องทำสัญญาเช่นนี้กับชาติตะวันตกอื่นๆอีก ความสนใจในวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์เป็น เหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในปี พ.ศ. 2411 ทรงคำนวณได้ว่าจะเกิด
    สุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเสด็จฯไปดู พร้อมกับเชิญคณะทูตานุทูตตามเสด็จไปชมด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ทำ ให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากชาวตะวันตกมาก เพราะในเวลานั้น แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชาติตะวันตกก็มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถคำนวณ การกิดสุรุยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่กการเสด็จฯไปหว้ากอครั้งนั้น เป็นเหตุให้พระองค์ประชวรด้วยไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในอีก สองสัปดาห์ต่อมา
    การปฏิรูปในสมัยรัชกลที่ 5 : เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรส ของรัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ด้วยพระชนมายุเพียง 15 ชันษา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ใน ยุคสมัยที่บ้านเมืองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และทรงต้องเผชิญกับการ กดดันจากหลายด้าน ทั้งฐานอำนาจของกลุ่มวังหน้าและฝ่ายขุนนางที่ นำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระ องค์ ในขณะที่แรงกดดันจากประเทศนักล่าอาณานิคมก็มิได้ลดละ แต่ โชคดีที่พระองค์รวมทั้งพระประยูรญาติได้รับการปูพื้นฐานมาเป็น อย่างดี ในสมัยของพระองค์บรรดาขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณที่ พระองค์มีพระบรมราชโองการอยู่เสมอก็คือพระอนุชาของพระองค์ เป็นส่วนใหญ่ ขุนนางซึ่งมีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ก็คือ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ กรมพระยาเทววงศ์วโรปกรณ์ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปคม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นพระอนุชาของพระองค์ทั้งสิ้น ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศสยาม พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ทรงยกเลิกระบบ ทาสและการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาใช้ระบบเก็บส่วนภาษีแทน ทรง ปฏิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาคด้วยการยกเลิกระบบประเทศราช และเจ้าครองนครเปลี่ยนผู้บริหารเป็นสมุหเทศาภิบาลซึ่งเป็นข้าราช การที่ส่งไปจากส่วนกลาง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ประเทศสยาม เป็นปึกแผ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ การเตรียมพร้อมของพระองค์ต่อการคุกคามโดยประเทศ ตะวันตกนั้น ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษา ณ ดินแดนยุโรป โดยเฉพาะ ในประเทศรัสเซียและปรัสเซีย ทั้งเพื่อเตรียมคนไว้เพื่ออนาคต และเป็น การผูกสัมพันธ์กับราชสำนักยุโรปเพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและ ฝรั่งเศสที่ในเวลานั้นกำลังล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเซียอยู่

    ในปี พ.ศ. 2435 ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 12 กระทรวง บางกระทรวงก็ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นเสนาบดี บาง กระทรวงที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาว ตะวันตกเป็นเสนาบดี รัชสมัยของพระองค์มีชาวตะวันตกเข้ามารับใช้ ประเทศสยามจำนวนมาก หลายท่านยังคงมีลูกหลานสืบสกุลในเมือง ไทยจนปัจจุบัน ครั้นพระราชโอรสของพระองค์สำเร็จการศึกษาจากยุ โรปแล้วก็ได้เข้ามาเป็นกำลังในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารครั้ง ใหญ่ โดยเฉพาะเป็นกำลังในการสร้างกองทัพบกและกองทัพเรือให้มี ความทันสมัยอย่างตะวันตก
    ในสมัยนี้ประเทศสยามต้องเผชิญกับการบีบคั้นโดยชาติ มหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้สยามจำต้องเสียดินแดน ให้แก่มหาอำนาจทั้งสองไปเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกกับเอกราชของ ประเทศ
    เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองเวียดนามในปี พ.ศ. 2426 และ อังกฤษยึดครองมลายูและพม่าส่วนบนได้ในปี พ.ศ. 2429 ทำให้สยาม ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ต่อมาฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดล้อมอ่าว ไทย ทำให้ต้องยอมเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสไป ขณะเดียวกันก็ ต้องยำดินแดนทางภาคใต้ได้แก่ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ดิน แดน ติดพม่าได้แก่ มะริด ทวาย ตะนาวศรี และดินแดนหัวเมืองเงี้ยว ในภาคเหนือให้แก่ประเทศอังกฤษ รวมแล้วสยามต้องเสียดินแดนให้ มหาอำนาจทั้งสองถึง 120,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่ง หนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน
    นอกจากต้องเสียดินแดนแล้วยังต้องจ่ายค่าปรับให้กับ ประเทศเหล่านั้นด้วย จึงต้องใช้เงินใน ถุงแดง ซึ่งรัชกาลที่ 3 เก็บซุก ซ่อนไว้นำมาจ่ายให้มหาอำนาจเหล่านั้น รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับราชสำนักต่างๆในยุ โรปให้แน่นแฟ้นขึ้น
    ในรัชสมัยของพระองค์กล่าวได้ว่าสยามประเทศมีการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด แม้จะต้องเสียเงินทองมากมายให้แก่มหาอำนาจ แต่เศรษฐกิจของสยามก็เฟื่องฟูโดยเฉพาะหากเทียบกับประเทศเอเซีย อื่นๆ หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกัน ถวายพระสมัญนามแด่พระองค์ว่า พระปิยมหาราช ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ทรงเป็นที่รักยิ่ง
    รัชกาลที่ 6 เผชิญคลื่นลมแห่งการเปลี่ยนแปลง : เจ้ามหา วชิราวุธ โอรสของรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ นโยบายปฏิรูปแบบตะวันตกส่งผลต่อสังคมไทยอย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกในปี พ.ศ. 2456 คือคนไทยต้องมี นามสกุลใช้ ในอดีตคนไทยใช้เพียงชื่อตัวไม่มีนามสกุล ซึ่งพระองค์มี พระราชดำริว่าไม่ทันสมัยอย่างชาวตะวันตก พระองค์จึงทรงพระราช ทานนามสกุลให้แก่ขุนนาและคหบดีกว่าร้อยสกุล รวมถึงการถวาย พระนามต้นแห่งกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีว่า รามา ก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระองค์ยังทรงยกเลิกธรรมเนียมให้ผู้หญิงไทยไว้ผมสั้นทรง ดอกกระมอย่างโบราณ และหันมาไว้ผมยาวแบบฝรั่ง และให้นุ่งผ้าถุง แทนโจงกระเบน ทรงจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับทั่วประเทศ มีการตั้ง จุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ในช่วง ท้ายของสงครามพระองค์ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ สมรภูมิยุโรป ด้วย นั่นทำให้ประเทศสยามได้รับการต้อนรับให้เข้าร่วมสันนิบาติชาติ ภายหลังสงคราม และภายหลังจากทหารอาสาชาวไทยกลับจาก สงคราม พระองค์ทรงเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกบนพื้นแดงมาเป็น ธงไตรรงค์แบบปัจจุบันแทน
    ในรัชสมัยนี้มีการแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์และขุนนางใกล้ชิด ให้เป็นคณะรัฐมนตรีร่วมปรึกษาใกล้ชิดกับพระองค์ในการบริหาร ประเทศ และมีการตั้ง กองเสือป่า ขึ้นมาโดยมีพระองค์เองเป็นผู้ บัญชาการ กองเสือป่าที่ตั้งขึ้นมีลักษณะซ้ำซ้อนกับกองทัพ และหลาย ครั้งเสือป่าของพระองค์มีเรื่องมีราวกับทหารในกองทัพ ปมขัดแย้งเริ่ม เกิดขึ้นในหมู่ทหารจำนวนหนึ่ง กระทั่งประทุเป็นการก่อกบฎใน ร.ศ. 130 ที่เรียกว่า กบฏนายสิบ
    รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดการละครมาก ในราชสำนักสมัยนั้นมีการ เล่นละครกันอยู่เป็นประจำ และไม่ว่าจะเสด็จแปรพระราชฐานไปที่ใด ก็มักจะนำคณะละครของพระองค์โดยเสด็จไปด้วยเสมอ อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่โปรดการ สร้างถาวรวัตถุ ได้ทรงสร้างพระตำหนักและพระราชวังไว้ตามจังหวัด ต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิ พระตำหนักดุสินธานี ที่กรุงเทพฯ พระราช วังสนามจันทร์ ที่นครปฐม พระราชวังบ้านปืน และพระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ที่เพชรบุรี เป็นต้น ผลจากการสร้างสิ่งเหล่านี้ทำให้เงินใน ท้องพระคลังที่สะสมมาสมัยรัชกาลที่ 5 ร่อยหรอลง จนเกิดปัญหาการ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงปลายรัชกาล
    รัชกาลที่ 6 ทรงอภิเษกสมรสเมื่อพระชนม์มายุมากแล้ว พระ ราชธิดาพระองค์เดียวประสูติก่อนวันเสด็จสวรรคตของพระองค์เพียง แค่วันเดียวในปี พ.ศ. 2468 พระอนุชาของพระองค์คือ เจ้าประชาธิปก ทรงขึ้นคอรงราชย์ต่อ

    หน่วยที่ 4 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ หลัง พ.ศ.2475
    หน่วยที่ 4 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ( ร.7-ร.9)
    การเปลี่ยนแปลงกา
    nuchjung
    nuchjung
    ..
    ..


    Posts : 15
    Joined : 11/07/2009
    Karma : 0

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  nuchjung Thu Feb 17, 2011 7:30 pm

    หน่วยที่ 4 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ( ร.7-ร.9)
    การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
    การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
    การเตรียมการปฏิวัติ
    คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพ
    ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม
    หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม เช่น ฝ่ายพลเรือนแบ่งไปคุมตามวังที่สำคัญ บางกลุ่มให้ไปตัดสายโทรศัพท์ และจะใช้คนจำนวนมากเพื่อเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย

    แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน

    การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

    ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ"เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน แถลงการณ์คณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
    คณะราษฎร 2475 มี 2 กลุ่ม
    กลุ่มที่ 1 ผู้นำฝ่ายทหาร ได้แก่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา และพระยาทรงสุรเดช
    กลุ่มที่ 2 ผู้นำฝ่ายพลเรือน ได้แก่ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
    นายปรีดี ได้ยกร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นจากนโยบายข้อสาม เค้าโครงเศรษฐกิจนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาก ว่ามีลักษณะแนวทางแบบสังคมนิยม ทำให้เกิดการแตกแยกกันในรัฐบาล จนถึงกับต้องมีการปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ส่วนนายปรีดี ต้องเดินทางออกจากประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คณะทหารภายใต้การนำของนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ทำการยึดอำนาจรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 แล้วตั้งตัวเองเป็นรัฐบาล

    ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากสุขภาพไม่ดีจึงทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ดำรงตำแหน่งต่อมา หลังจากนั้นทหารเริ่มมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2481 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2487 จอมพล ป. ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาห้าปีครึ่ง ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการสร้างประวัติศาสตร์ของเมืองไทย นโยบายที่สำคัญที่สุดคือ รัฐนิยม ซึ่งเป็นนโยบายรักชาติ แสดงออกโดยการรณรงค์ต่อต้านคนจีน และนโยบายสงครามที่เป็นมิตรกับญี่ปุ่นพร้อมกับประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา นโยบาย ดังกล่าวมีตั้งแต่โครงการรวมชาติ การสร้างเอกลักษณ์ของชาติ การสร้างความเป็นชาตินิยมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และความสนใจต่อผลประโยชน์ของสาธารณะ
    นโยบายที่อันตรายที่สุดของจอมพล ป. ก็คือการตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง การตัดสินใจประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา และอังกฤษเกิดจากเหตุผลหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ ความกดดันจากสถานการณ์และอาจจะมาจากการคาดการณ์ผิดคิดว่าญี่ปุ่นจะชนะสงคราม ดังนั้นการเข้าร่วมกับญี่ปุ่นก็เหมือนกับการเข้าร่วมกับผู้ชนะซึ่งประเทศไทยอาจได้ผลประโยชน์ร่วมกับผู้ชนะ แต่ว่าการตัดสินใจของจอมพล ป. กลายเป็นข้อผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงและทำให้ต้องเสียตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลง
    เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นก็แพ้สงครามด้วย แต่มีปัจจัยสองข้อที่ทำให้ผู้นำไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์เพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์
    ปัจจัยสองประการนี้คือ
    (1) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันปฏิเสธที่จะส่งสาส์นประกาศสงครามให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
    (2) ได้มีการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยซึ่งประกอบด้วยคนไทยที่อยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการกู้เอกราชของชาติ
    ขบวนการนี้ตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งได้ร่วมมือกับนายปรีดี พนมยงค์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รวบรวมกำลังคนภายในประเทศ และร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตรทั้งหลาย
    นายกรัฐมนตรี พ.ศ.2475 – 2490

    ชื่อ ช่วง ความนานของสมัย
    พระยามโนปกรณ์นิติธาดา มิ.ย. 2475 – มิ.ย. 2476 1 ปี
    พระยาพหลพลพยุหเสนา มิ.ย. 2476 – ธ.ค. 2481 5 ปี 6 เดือน
    จอมพล ป. พิบูลสงคราม ธ.ค. 2481 – ก.ค. 2487 5 ปี 6 เดือน
    นายควง อภัยวงศ์ ส.ค. 2487 – ส.ค. 2488 1 ปี
    นายทวี บุณยเกตุ ส.ค. 2488 – ก.ย. 2488 3 สัปดาห์
    ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ก.ย. 2488 – ม.ค. 2489 4 เดือน
    นายควง อภัยวงศ์ ม.ค. 2489 – มี.ค. 2489 3 เดือน
    นายปรีดี พนมยงค์ มี.ค. 2489 – ส.ค. 2489 4 เดือน
    หลวงธำรง นาวาสวัสดิ์ ส.ค. 2489 – พ.ย. 2490 6 เดือน
    ยุคที่สอง ยุคเผด็จการอำนาจนิยม (พ.ศ.2490 – พ.ศ.2516)

    เป็นยุคที่คณะทหารและกองทัพได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองประเทศ โดยการยึดอำนาจทำรัฐประหาร และถือว่าเป็นการดำเนินการปกครองของข้าราชการ โดยข้าราชการ และเพื่อข้าราชการ จนกระทั่งมีการให้สมญาการปกครองในยุคนี้ว่าเป็น “ยุคอำมาตยาธิไตย” โดยมีจุดเริ่มต้นจากการทำรัฐประหารโดยคณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490
    การรัฐประหารปี พ.ศ.2490 ซึ่งเกิดขึ้นสามปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีความสำคัญทั้งในนัยที่เป็นสัญลักษณ์และความเป็นจริง เป็นสัญลักษณ์เพราะว่ามีส่วนเสริมข้อถกเถียงที่ว่าทหารจะมีบทบาทสำคัญทางการเมืองและขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย ในความเป็นจริงเพราะว่านับจากนั้นไปฝ่ายเสรีนิยมต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ดังนั้นการถ่วงดุลระหว่างฝ่ายผู้นำเสรีนิยมกับฝ่ายทหารจึงสลายไป ตั้งแต่ พ.ศ.2490 ประเทศไทยก็ได้แปรสถานภาพการเมืองโดยมีทหารปกครอง
    ทหารเริ่มรวมอำนาจได้ พวกเสรีนิยมก็เริ่มสูญเสียสถานภาพทางการเมือง นายปรีดีผู้ซึ่งถูกสงสัยว่าพัวพันกับกรณีปลงพระชนม์ในหลวงก็ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2491 เกิด “กบฏเสนาธิการ” หรือ “กบฏนายพล” โดยพลโทเนตร เขมะโยธิน และคณะพยายามล้มคณะรัฐประหาร 2490 พลโทเนตรถูกจับ เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดโอกาสให้คณะรัฐประหารได้ทำลายนายทหารที่ไม่จงรักภักดีและเพื่อกระชับอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 เกิดกบฏ “วังหลวง” โดยมีการพยายามล้มล้างอำนาจของจอมพล ป. โดยนายปรีดีและพวก นายปรีดีแอบเข้าประเทศและพยายามทำรัฐประหาร โดยอาศัยการสนับสนุนของกองทัพเรือ และพรรคพวกเสรีไทยจำนวนหนึ่ง การต่อสู้ได้เกิดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน นายทหารและพลเรือนหลายคนถูกฆ่าและบาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหายมากมาย เป็นการพยายามรัฐประหารที่นองเลือด
    ดูเหมือนว่า ทหารเรือจะเป็นพวกของฝ่ายเสรีนิยม มีการวิเคราะห์กันว่าทหารเรือนั้นเป็นหน่วยที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค เพราะต้องทำงานกับเครื่องมือทันสมัยและได้รับการศึกษาอบรม ดังนั้นจึงมีการอ้างว่าโลกทัศน์ทางการเมืองของทหารเรือจึงกว้างไกลกว่าของทหารหน่วยอื่น ๆ ดังนั้นทหารเรือจึงเป็นฝ่ายของพวกเสรีนิยม การกบฏที่พ่ายไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2492 ไม่ได้หมายความว่าทหารเรือจะหยุดเพียงแค่นั้น ซึ่งจะเห็นได้จากการพยายามรัฐประหารอีกครั้งในสองปีต่อมาที่เรียกว่า “กบฏแมนฮัตตัน”






    เครดิต http://gto38saebaryo62.spaces.live.com/blog/cns!DAEC34827FE3073D!438.entry
    nuchjung
    nuchjung
    ..
    ..


    Posts : 15
    Joined : 11/07/2009
    Karma : 0

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  nuchjung Thu Feb 17, 2011 7:44 pm

    เค้าอยากบอกทุกคนว่าทำไมกีอบมาแล้วภาพกับตารางมันหายไปอ่ะ ก้อขอโทษด้วยทำไมเป็น
    noo1-7
    noo1-7
    .....
    .....


    Posts : 616
    Joined : 08/02/2009
    Karma : 3

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  noo1-7 Fri Feb 18, 2011 6:03 pm

    nuchjung พิมพ์ว่า:เค้าอยากบอกทุกคนว่าทำไมกีอบมาแล้วภาพกับตารางมันหายไปอ่ะ ก้อขอโทษด้วยทำไมเป็น

    ขอบคุณnuchjungมากๆเลยค่ะ เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆมาก

    ส่วนเรื่องที่ก๊อปมาแล้วไม่เป็นตารางก็เพราะว่า ที่ภาพหรือตารางหายไปก็เป็นเพราะว่า เว็บห้องลงได้แต่text

    ถ้าจะลงตาราง ให้เซฟเป็น.jpg แล้วฝากไว้ในเว็บฝากรูป แล้วจึงนำรูปมาโพสต์ในเว็บห้องได้ค่ะ

    สำหรับข้อสอบพุทธศาสนา และอื่นๆ เพื่อนๆท่านใดมีช่วยกัน ครั้งสุดท้าย...เป็นอนุสรณ์แห่งความรักและความผูกพัน ห่วงใยกันในห้อง 3/7
    noo1-7
    noo1-7
    .....
    .....


    Posts : 616
    Joined : 08/02/2009
    Karma : 3

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  noo1-7 Fri Feb 18, 2011 6:12 pm

    สรุปพระพุทธศาสนา

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 หน้าที่ชาวพุทธ และศาสนพิธี
    1. การเรียนรู้หน้าที่ของพระสงฆ์ คือ กาเรียนรู้ กิจวัตรของสงฆ์ หรือ จริยาวัตรของสงฆ์ เช่น บิณฑบาต ทำวัตรเช้า-เย็น พิจารณาปัจจัย 4 ทำความสะอาดที่อยู่ ดูแลความสะอาดของร่างกาย
    2. ปลูกจิตสำนึกในการรักษาศาสนสถาน คือ การช่วยบำรุงรักษาศาสนสถาน
    3. การปฎิบัติตนตามหลักพุทธปณิธาน 4 คือ การปฎิบัติตามหลักธรรม คำสั่งสอน
    4. การศึกษาองค์ประกอบของพระพุทธศาสนา คือ 1. พระพุทธเจ้า 2. คำสั่งสอน 3. พระไตรปิฎก
    4. พระสงฆ์ 5. ศาสนสถาน 6. ศาสนพิธี
    5. การศึกษาการรวมตัวขององค์กรชาวพุทธ คือ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
    6. การเป็นศิษย์ที่ดีในทิศเบื้องขวา
    ศาสนพิธี คือระเบียบข้อปฏิบัติของชาวพุทธที่เกิดจากความศรัทธา ในพิธีทำบุญที่จะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ ซึ่งพิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา มี 2 ประเภท คือ
    1. พิธีทำบุญงานมงคล คือ งานทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว ได้แก่ งานทำบุญเลี้ยงพระ งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานอุปสมบท งานมงคลสมรส เป็นต้น
    2. พิธีทำบุญงานอวมงคล คือ งานที่มีแต่ความโศกเศร้าเสียใจ โดยมีการทำบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น งานฟังสวดพระอภิธรรม งานฌาปนกิจศพ งานทำบุญ 100 วัน งานทำบุญอัฎฐิ เป็นต้น
    ขั้นตอนการจัดพิธีทำบุญงานมงคล
    1. อาราธนาพระสงฆ์ คือ การเชื้อเชิญให้พระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรม ซึ่ง งานมงคล อาราธนาเป็นเลขคี่ 3 5 7 9 รูป คำพูดที่ใช้ คือ ขออาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ งานอวมงคล อาราธนาเป็นเลขคู่ 4 6 8 10 รูป คำพูดที่ใช้ คือ ขออาราธนาพระสงฆ์มาสวดพระพุทธมนต์
    2 การจัดเตรียมสถานที่ เช่น
    การจัดอาสนสงฆ์ (ที่นั่งของพระสงฆ์)
    การจัดโต๊ะหมู่บูชา (หมู่ 5 7 9)
    เตรียมเครื่องบูชา ได้แก่ ธูป เทียน ดอกไม้ แจกัน กระถางธูป
    การอัญเชิญพระพุทธรูป นิยมใช้ ปางมารวิชัย และปางสมาธิ
    การเตรียมภาชนะน้ำมนต์ (ใช้เฉพาะงานมงคล) ได้แก่ ขันฝาครอบสำริด และบาตรพระ
    การวงด้ายสายสิญจน์ งานมงคลใช้ 9 เส้น งานอวมงคลใช้ 3 เส้นหรือภาโยงต่อจากโลงศพ
    การเตรียมเครื่องรับรองสงฆ์ ได้แก่ น้ำร้อน น้ำเย็น กระดาษทิชชู่ และกระโถน(วางไว้หลังอาสน์สงฆ์ไม่ต้องประเคน)
    3. การต้อนรับพระสงฆ์ เมื่อถึงวันงานก่อนเวลาเพล พระสงฆ์มาถึง เจ้าภาพต้องออกไปต้อนรับ และถวายเครื่องรับรองสงฆ์

    4. ขั้นตอนการปฏิบัติในงานทำบุญ คือ
    1. ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
    2. อาราธนาศีล สมาทานศีล อาราธนาพระปริตร
    3. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
    4. กล่าวคำถวายภัตตาหาร
    5. ถวายภัตตาหาร ซึ่งจะมีภัตตาหารของพระสงฆ์ และถวายข้าวพระพุทธ
    6. ถวายเครื่องไทยธรรม (ถวายเมื่อพระฉันเสร็จ)
    7. การกรวดน้ำ รับศีลรับพร
    8. ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
    9. การส่งพระสงฆ์

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 มารยาทชาวพุทธ และการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์
    การปฎิบัติตนต่อพระสงฆ์ที่บ้าน พระสงฆ์ อนาคาริก แปลว่า ผู้ไม่มีบ้านอยู่ แต่มีวัดเพื่อจำพรรษาและศึกษาหลักธรรม
    มารยาทในการพูด ควรพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ ไม่ควรพูดหยาบโลน หรือคุยแบบเป็นกันเอง สำหรับสตรีไม่ควรสนทนากับท่านสองต่อสอง เมื่อเสร็จธุระควรรีบลากลับ
    มารยาทในการแต่งกาย ชายแต่งกายให้สุภาพ เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาว หญิงแต่งกายให้มิดชิด ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น หรือสวมเสื้อบางจนเกินไป

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 สัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ไขและการพัฒนา
    สัมมนาทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิดเห็น โดยอาศัยหลักการ เพื่อสรุปหาข้อเท็จ
    พระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2540 ได้ทรงอธิบายความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ว่าหมายถึง ความพอประมาณ อยู่อย่างพอมีพอกิน โดยใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)
    เศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบ คือ
    1. ทางสายกลาง คือ การตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    2. ความสมดุล และความยั่งยืน คือ การเน้นการพัฒนาในความพอดี และความเหมาะสม
    3. ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล คือ ความไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักพอดี
    4. ภูมิคุ้มกัน และรู้เท่าทันโลก คือ การมีความรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
    5. การเสริมสร้างคุณภาพคน คือ การพัฒนาศักยภาพคนให้สำนึกในคุณธรรม พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Summary
    คลิกที่รูป เพื่อดูรูปใหญ่นะคะ


    ส่วนเรื่อง ชาวพุทธตัวอย่างไม่ได้มีลงไว้ค่ะ

    เครดิต : http://gto38saebaryo62.spaces.live.com/blog/cns!DAEC34827FE3073D!446.entry
    noo1-7
    noo1-7
    .....
    .....


    Posts : 616
    Joined : 08/02/2009
    Karma : 3

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  noo1-7 Fri Feb 18, 2011 7:10 pm

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง (แต่สอบเฉพาะชาวพุทธตัวอย่าง)

    ชาวพุทธตัวอย่าง หมายถึง บุคคลที่มีความสำคัญในพระพุทธศาสนา มีวิถีชีวิตที่อยู่ในพระพุทธศาสนาที่ควรศึกษา และนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวัน

    1. หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เป็นพระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับ

    หม่อมเฉื่อย ดิสกุล ประวัติการศึกษาทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ไทย และพรพุทธศาสนา และทรงได้พระราชนิพนธ์ หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เรื่องศาสนคุณ ผลงานที่มีต่อพระพุทธศาสนา คือ ทรงจัดตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธาน

    2. ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสาร เวทย์วิเศษภักดีวัตตาพิริยพาหะ

    ประวัติการศึกษาจบจากโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม และสอบได้ทุนเล่าเรียนระพีมูลนิธิที่ประเทศอังกฤษ

    การดำรงตำแหน่งข้าราชการ ได้แก่ ผู้พิพากษา ปลัดกระทรวงยุติธรรม ประธานศาลฎีกา องคมนตรี อธิการบดี นายกรัฐมนตรี และประธานองคมนตรี

    เครดิต : http://gto38saebaryo62.spaces.live.com/blog/cns!DAEC34827FE3073D!388.entry
    DaRLy#3
    DaRLy#3
    .....
    .....


    Posts : 304
    Joined : 22/07/2009
    Karma : 2

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  DaRLy#3 Sat Feb 19, 2011 1:13 pm

    ใครมีชีทดอกไม้ไทยเพิ่มลงหน่อยๆ
    Poring~Raider*
    Poring~Raider*
    .....
    .....


    Posts : 498
    Joined : 08/02/2009
    Location : ข้างๆมิกุจัง=[]=!!
    Karma : 2

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  Poring~Raider* Sat Feb 19, 2011 7:04 pm

    DaRLy#3 พิมพ์ว่า:ใครมีชีทดอกไม้ไทยเพิ่มลงหน่อยๆ


    จัดให้จ้า........แล้วใครมีข้อสอบวิชาต่างๆช่วยเพื่อนๆที่ขาดแคลนอีกครั้งนะ


    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Img106.jpgrez

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Img107.jpgrez

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Img108.jpgrez

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Img109.jpgrez

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Img110.jpgrez

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Img111.jpgrez

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Img112.jpgrez
    kreeza
    kreeza
    .
    .


    Posts : 5
    Joined : 04/02/2011
    Karma : 0

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  kreeza Sun Feb 20, 2011 1:42 pm

    ขอ ข่าวไทยเพิ่ม กะ เรียงความด้วยจิ

    แฟ้มหายอ่า Crying or Very sad
    DaRLy#3
    DaRLy#3
    .....
    .....


    Posts : 304
    Joined : 22/07/2009
    Karma : 2

    ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา) Empty Re: ขอข้อสอบปลายปี ม.3 ด้วยค่ะ(ในนี้มีสรุปบางวิชา)

    ตั้งหัวข้อ  DaRLy#3 Sun Feb 20, 2011 8:15 pm

    ขอบคุณจี้มาก มีรูปการ์ตูนด้วย 555+

    ส่วนชีทเค้าไม่กล้าเอาลงอ่ะ มันเป็นไฟล์ PDF แต่อันนี้โจทย์ตรีโกณ

    มันเขียนว่า ม.4 แต่ใกล้เคียงกับม่อนมากมาย คือเราว่าน่าจะทำกันได้

    http://www.thetutorplus.com/exam/trigonometry/trigonometry-ex.pdf

    เอาไปทำดู ข้อสอบเลขปีนี้น่าจะแนวนี้

      เวลาขณะนี้ Thu Nov 21, 2024 4:40 pm